น้ำมันรำข้าว และสารอาหารที่มีประโยชน์

  • By Admin
  • 2023-11-22 16:16:52

รำข้าว และสารอาหารที่มีประโยชน์

รำข้าวเป็นผลผลิตพลอยได้ จากการสีข้าวเปลือกที่มีผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเป็น nutraceutical หรือสารอาหารที่มีผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการป้องกันโรคเรื้อรัง มีงานวิจัยเกี่ยวกับรำข้าวจำนวนมากขึ้น และควรที่จะได้เผยแพร่เนื่องจากประเทศไทยมีการผลิตข้าวส่งออกสู่ตลาดโลกจำนวนมาก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้พยากรณ์ผลผลิตข้าวเปลือก (รวมข้าวนาปีและนาปรัง)ปี 2547 ของประเทศไทยมีประมาณ 25 ล้านตัน ทำให้คาดได้ว่าจะมีรำข้าวไม่ต่ำกว่า 2 ล้านตันต่อปี รำข้าวมีลักษณะเป็นผงละเอียดสีน้ำตาลอ่อนซึ่งเป็นเยื่อหุ้มผิวข้าวที่ถูกขัดออกระหว่างกระบวนการสีข้าวเปลือก ปัจจุบันมีการนำรำข้าวมาใช้ประโยชน์น้อยกว่าคุณค่าที่มี ส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์และเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันรำข้าวเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน ผลงานวิจัยที่ทำในต่างประเทศโดยศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของน้ำมันรำข้าวจากแหล่งรำข้าว 3 ประเทศ (Marini et al, 2003) พบว่ารำข้าวของประเทศไทยมีคุณภาพและสามารถใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบอ้างอิงได้ นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาคุณค่าของรำข้าวเพื่อใช้บำบัดและรักษาสุขภาพที่น่าสนใจหลายประการ การรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับรำข้าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใส่ใจในสุขภาพและอาจช่วยให้เกิดการพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตพลอยได้ของการผลิตข้าวของประเทศไทยได้ อย่างมีคุณภาพ
*( ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) *


รำข้าวมีองค์ประกอบหลายชนิดได้แก่ โปรตีน ประมาณ 15% ไขมันประมาณ 15-30% เส้นใย 6-20% และคาร์โบไฮเดรตซึ่งอาจมีปริมาณสูงถึง 50% องค์ประกอบ ของรำข้าวต่างชนิดจะแตกต่างกันขึ้นกับชนิดของข้าว เปลือก ข้าวเปลือกของข้าวชนิดเดียวกันก็อาจให้รำข้าวแตก ต่างกันตามกระบวนการสีข้าว ดังนั้นการทำให้คงสภาพ(stabilization) และวิธีการเก็บรักษา จึงมีผลต่อส่วนประกอบและคุณค่าของรำข้าว


สารอาหารที่มีผลต่อสุขภาพ  ( Nutraceuticals ) ที่พบในรำข้าว

รำข้าวนอกจากเป็นแหล่งของสารชีวโมเลกุลที่สำคัญดังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย อาทิเช่น เส้นใย แร่ธาตุ ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัสโปตัสเซียม ไขมันที่มีคุณค่า วิตามินซึ่งมีหลายชนิดรวมทั้งไนอาซิน วิตามินอี นอกจากนี้ยังมีไขมันที่มี
คุณค่า และสารที่ละลายได้ในไขมัน (Perretti et al, 2003) ในรำข้าวมีปริมาณของโอไรซานอล (γ-oryzanols) สูงอีกทั้งยังมีสารในกลุ่มไฟโตสเตอรอล (phytosterols) กลุ่มพอลิฟีนอล(polyphenols) และวิตามินอี ทั้งชนิด โทโคเฟอรอล(tocopherols) และโทโคไตรอินอล (tocotrienol) สารเหล่านี้เป็นไขมันที่มีคุณค่าต่อสุขภาพจากการมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน (Qureshi et al, 2002) 
สารต้านออกซิเดชันที่มีในรำข้าวของข้าวทุกชนิดช่วยลดอนุมูลอิสระในร่างกายได้ จึงลดภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) ที่เป็นสาเหตุของ โรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น โรคหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวานฯ

สารอาหารในรำข้าวที่มีผลต่อสุขภาพในรำข้าวและกำลังเป็นที่สนใจ คือ ไฟโตสเตอรอล โอไรซานอล (γ-oryzanol) และ สารกลุ่มไขมันอื่นๆ

1) ไฟโตสเตอรอล (Phytosterols)คำว่า "ไฟโตสเตอรอล" เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มสเตอรอลที่พบในพืช อาหารจากพืชหลายชนิดมีไฟโตสเตอรอล รำข้าวมีไฟโตสเตอรอลในปริมาณสูง ถึง 2,230- 4,450 ppm และเมื่อผ่านกระบวนการทำให้คงสภาพแล้ว นำมาสกัดเป็นน้ำมันรำข้าวก็ยังมีความเข้มข้นของไฟโตสเตอรอลสูงถึง 1,190 mg/100 กรัมหรือ 11,900 ppm และสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารและน้ำมันพืชสำหรับบริโภค

2) โอไรซานอล ( γ-oryzanols)โอไรซานอลหรือที่เรียกให้เต็มว่าแกมมาโอไรซานอลเป็นสารที่พบได้ในรำข้าวทุกชนิด โอไรซานอลเป็นสารผสมที่ทราบสูตรโครงสร้างทางเคมีแล้ว10 ตัวซึ่งล้วนเป็นอนุพันธ์ของ ferulic acid ในจำนวนนี้มี3 ตัวที่มีความสำคัญในแง่ของการออกฤทธ์ิตา้ นออกซิเดชันและปัจจุบันเป็นที่สนใจในแง่ของการนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ปัจจุบันมีการนำโอไรซานอลไปใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเครื่องสำอาง โดยเชื่อว่ามีสรรพคุณที่สามารถปกป้องผิวหนังจากแสงแดดช่วยป้องกันการเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นของผิวหนัง

3) สารกลุ่มไขมันอื่นๆ นอกจากไฟโตสเตอรอลและโอไรซานอลแล้ว รำข้าวยังมีสารกลุ่มไขมันอื่นๆที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพคือมีไตรกลีเซอไรด์ชนิดที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งมีประมาณ 96% โดยน้ำหนัก มีกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้คือ กรดลิโนเลอิกกรดลิโนเลนิก และมีสควาลีนซึ่งช่วยให้ความชุ่มชื้นบำรุงผิวหนังได้ดี และยังมีวิตามินอีที่ละลายในไขมัน
ที่สำคัญ 2 ตัว คือ แกมมาโทโคเฟอรอล ( γ-tocopherol) และโทโคไตรอินอล
ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันเสริมกับฤทธิ์ของโอไรซานอล ช่วยลดอนุมูลอิสระที่มีในร่างกายอันเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตหลอดเลือดอุดตันเนื่องจากระดับ โคเลสเตอรอลสูงเบาหวาน มะเร็ง เป็นต้น


ผลของรำข้าวต่อสุขภาพ

1. ผลต่อไขมันและคอเลสเตอรอล

2. ผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

3. ผลต่อผิวหนัง

4. ผลต่อระบบทางเดินอาหาร


- ผลต่อไขมันและคอเลสเตอรอล
รำข้าวใช้ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันที่เกิดจากไขมันสะสม ทำให้หลอดเลือดตีบตันเป็นอุปสรรคของการไหลเวียนเลือด ตัวอย่างงานวิจัยที่ยืนยันในเรื่องนี้ เช่นMarini et al (2003) พบว่ารำข้าวลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดของหนูแฮมสเตอร์ที่มีโคเลสเตอรอลสูง (hypercholesterolemia) ได้ Fukushima (1999) ทดลองการให้รำข้าวเปรียบเทียบกับการให้เส้นใยเซลลูโลส พบว่ารำข้าวลดคเลสเตอรอลได้ดีกว่าเส้นใย Qureshi et al (2001b)ศึกษาผลของสารสกัดจากรำข้าวต่อระดับโคเลสเตอรอลใน
คน เปรียบเทียบกับยาลดโคเลสเตอรอลชื่อ lovastatinในอาสาสมัคร 28 คนที่มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงเป็นเวลา 6 เดือน พบว่าการใช้สารสกัดจากรำข้าวมีประสิทธิภาพดีในการลดระดับโคเลสเตอรอลและเปลี่ยนระดับไขมันอื่นๆ
ในกระแสเลือดให้อยู่ในสัดส่วนที่ดี Gerhardt and Gallo(1998) ทำการศึกษาในอาสาสมัครโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มระหว่างกลุ่มที่กินรำข้าวเจ้ากับกลุ่มที่กินรำข้าวโอ๊ตเปรียบเทียบกัน เมื่อครบ 6 สัปดาห์พบว่า รำข้าวเจ้าและรำ
ข้าวโอ๊ตช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและเพิ่มไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Density Lipoprotein)ทำให้ลดความเสี่ยงต่ออาการของโรคได้ จึงแนะนำให้ผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะไขมันในเลือดสูงบริโภครำข้าวร่วมกับอาหาร
งานวิจัยส่วนใหญ่ให้ข้อสังเกตที่สำคัญว่าการลดไขมันและโคเลสเตอรอลจากการบริโภครำข้าวเกิดจากผลรวม (Synergistic
effect) ของสารสำคัญในรำข้าวซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหลายตัว เส้นใยและกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบมากในรำข้าว

- ผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
โทโคไตรอินอล เป็นสารสำคัญอีกตัวหนึ่งในรำข้าวที่ได้รับความสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด โดยในปี พ.ศ. 2542 ในสหรัฐอเมริกามีสิทธิบัตรคุ้มครองความคิดเกี่ยวกับการใช้รำข้าวเป็นอาหารเลี้ยงไก่พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของไก่ได้18 % ซึ่งต่อมาเมื่อนำมาทดลองในคนก็พบว่าได้ผลดี โดยเชื่อว่าเป็นผลร่วมกันจากสารต่างๆที่พบในรำข้าว ได้แก่วิตามินอีชนิดโทโคไตรอินอล โอไรซานอล โพลิฟีนอล ที่เป็นกรดชนิดต่างๆ (Ferulic acids, α-lipoic acid,σ-sinapic acid) โดยมีผลต่อการดูดซึม และการใช้น้ำตาล
(Qureshi et al, 2002) ปัจจุบันมีสารสกัดรำข้าวที่ละลายในไขมันขึ้นทะเบียนการค้าในชื่อ Ricetrienol® ระบุว่าประกอบด้วยแอลฟาโทโคเฟอรอล โทโคไตรอินอล และไฟโตสเตอรอล ซึ่งผ่านการทดลองว่าต้านภาวะเครียดออกซิเดชัน ในหนูที่เป็นเบาหวานได้

- ผลต่อผิวหนัง
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในต่างประเทศจำนวนมากที่เลือกใช้น้ำมันรำข้าวเป็นส่วนประกอบเนื่องจากคุณค่าที่ผสมผสานทั้งจากส่วนประกอบที่มีสารสำคัญหลายตัวซึ่งมีประโยชน์ต่อการบำรุงผิว โอไรซานอลมีคุณสมบัติในการดูดแสง (Graf, 1992) ซึ่งเป็นกลไกการต้านออกซิเดชันที่สำคัญของสารนี้ จึงทำให้มีการใช้สารนี้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางป้องกันแสงแดดชนิดต่างๆด้วย ในประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกามีการใช้สารนี้ผสมในผลิตภัณฑ์สิ่งทอเพื่อให้ดูดแสง UV ทำให้เสื้อผ้าสามารถป้องกันแสงแดดด้วย

- ผลต่อระบบทางเดินอาหาร
การบริโภคอาหารที่มีกากใยละลายน้ำได้มีส่วนช่วยลดการดูดซึมไขมันทำให้ลดระดับโคเลสเตอรอลในร่างกายได้ รำข้าวมีปริมาณกากใยไม่เกิน 15 กรัมต่อ 100กรัม (Gerhardt and Gallo, 1998) ซึ่งถ้าเทียบกับธัญพืชอื่นพบว่ามีปริมาณกากใยต่ำกว่า แต่มีไขมันที่มีสารต้าน
ออกซิเดชันละลายอยู่หลายชนิด คุณค่าที่ผสมผสานกันเหล่านี้ ประกอบกับรำข้าวมีความหนืดในทางเดินอาหารพอเหมาะในลำไส้ ทำให้ไขมันถูกเปลี่ยนเป็นกรดไขมันชนิดสายสั้น ซึ่งลดการดูดซึมโคเลสเตอรอล (Fukushima et al,1999) นอกจากนี้ยังได้มีการพิสูจน์ว่าแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในทางเดินอาหารกลุ่ม แลคโตบาซิลัส (LactobacillusSpp.) สามารถเจริญเติบโตในสภาวะดังกล่าวได้ดีกว่าจุลชีพที่มีโทษต่อสุขภาพด้วย ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ต่อการเลือกบริโภคอาหารที่มีกากใยและมีสารสำคัญแบบรำข้าว นอกจากนี้ สารในรำข้าวยังมีคุณค่าต่อสุขภาพอื่น ๆด้วย เช่น สามารถช่วยยับยั้งการเกิดและลดการสะสมของเกล็ดเลือด (Seetharamaiah et al, 1990)



ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันรำข้าว ของ บริษัท พิรัตตา
AP Oil 
>> ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำมันรำข้าว ผสมน้ำมันเมล็ดงาขี้ม้อน <<

เอพี ออยล์  น้ำมัมรำข้าว ผสมน้ำมันงาขี้ม่อน ( ชนิด แคปซูล )

ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ต้านอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติช่วยป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตา ลดความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระ




รายละเอียดและโปรโมชั่น >>>>  https://www.piratta.co.th/th/ap-oil--luteinvitamin-d3-capsules-P0005 <<<<



เอกสารอ้างอิง
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (ม.ป.ป.). ผลพยากรณ์ข้าวนาปีและนาปรังปี. 2547. [อ้างเมื่อ 29 ธันวาคม 2547]
เข้าถึงได้จาก http://www.oae.go.th/mis/predict/forcast/rice1_47.htm.
Abidi S. 2001. Review Chromatograpic analysis of plant sterols in foods and vegetable oils. J Chromatography
A. 935: 173-201.
Dunford N.T., Teel J.A., King J.W. 2003. A continuous contercurrent supercritical fluid deacidification
process for phytosterol ester fortification in rice bran oil. Food Research International. 36: 175-181.
Fukushima M., Fujii S., Yoshimura Y., Endo T., Nakano M. 1999. Effect of rice bran on intraintestinal
fermentation and cholesterol metabolism in cecectomized rats. Nutr. Res. 19(2): 235-245.
Gerhardt A., Gallo N. 1998. Full-fat rice bran and oat bran similarly reduce hypercholesterolemia in
humans. J.Nutr. 128(5): 865-869.
Graf E. 1992. Antioxidant potential of ferulic acid. J.Free Radic Biol Med. 13(4): 435-448.
Kim Hyung-Jin, Lee Seung-Bum, Park Kyung-Ai ,Hong In-Kwon. 1999. Characterization of extraction
and separation of rice bran oil rich in EFA using SFE process. Sep. Purif. Technol. 15: 1-8.
Lakkakula N. Rao, Lima M., Walker T. 2004. Rice bran stabilization and rice bran oil extraction using
ohmic heating. Bioresour. Technol. 92: 157-161.
Lehtinent P., Kiiliainent K., Lehtomaki l., Laaksot S. 2003. Effect of heat treatment on lipid stability in
processed oats. J.Cereal Sci. 37: 215-221.
Marini F., Balestrieri F., Bucci R., Magri A., Marini D. 2003. Supervised pattern recognition to
discriminate the geographical origin of rice bran oils:a first study. Microchem. J. 74: 239-248.
Perretti G.,Miniati E.,Montanari L., Fantozzi P. 2003. Improving the value of rice by-products by SFE
J.Supercri. Fluids. 26: 63-71.
Qureshi A., Peterson MD., Hasler-Rapacz OJ., Rapacz J. 2001a. Novel Tocotrienols of Rice Bran
Suppress Cholesterogenesis in Hereditary Hypercholesterolemic Swine. J. Nutr. 131: 223-230.
Qureshi A., Sami S., Salser W., Khan F. 2001b. Synergistic effect of tocotrienol-rich fraction (TRE25)
of rice bran and lovastatin on lipid parameters in hypercholesterolemic humans. J.Nutr. Biochem.
12: 318-329.
Qureshi A., Samai S., Khan F. 2002. Effects of stabilized rice bran, its soluble and fiber fractions on
blood glucose levels and serum lipid parameters in humans with diabetes mellitus Types I and
II. J. Nutr. Biochem. 13: 175-187.
Seetharamaiah GS., Chandrasekhara N. 1989. Studies on hypocholesterolemic activity of rice bran oil.
Atherosclerosis. 78(2-3): 219-23.
Seetharamaiah S., Krishnakantha P., Chandrasekhara N. 1990. Influence of oryzanol on platelet aggregation
in rats. J.Nutr. Sci. Vitaminol. 36(3): 291-297.


ที่มา : วารสารศูนย์บริการวิชาการ

ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2548

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.