งาขี้ม้อน ?
- By Admin
- 2023-11-22 16:14:40
งาขี้ม้อน มีชื่อสามัญคือ Perilla มีชื่อวิทยาศาสตร์ Perilla frutescens (L.) Britton จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา LAMIACEAE พบว่าปลูกอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทยมานาน เมล็ดของงาขี้ม้อนจะมีขนาดเล็กกลมและขนาดใกล้เคียงกับเมล็ดงา มีชื่อแตกต่างตามไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น งามน(แม่ฮ่องสอน) แง(กาญจนบุรี) นอ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน กะเหรี่ยงเชียงใหม่) เป็นต้น
งาขี้ม้อนมีลักษณะเป็นไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร ลำต้นตั้งตรง เป็นสันสี่เหลี่ยม มีร่องตามยาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ถึงรูปไข่กว้าง กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 6-10 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนนุ่ม สีขาวทั้งสองด้าน ขอบใบหยัก ฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็นสองปาก ผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดกลมขนาดเล็ก สีดำหรือน้ำตาลเข้ม (คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล, 2539)
ดอกของงาขี้ม้อน
ที่มา : wikimedia (2019)
เมล็ดงาขี้ม้อนสามารถนำมาสกัดน้ำมันได้ร้อยละ 31 - 51 น้ำมันงาขี้ม้อนอุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายชนิด ได้แก่ กรดไลโนเลนิก (โอเมก้า 3)55-60% กรดไลโนเลอิก (โอเมก้า 6) 18-22% และกรดโอเลอิก (โอเมก้า 9) 0.08-0.17% อย่างไรก็ตามได้มีการศึกษาปริมาณกรดไขมันจากงาขี้ม้อนที่ปลูกทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยพบว่า มีกรดไลโนเลนิกอยู่ประมาณ 54-59 %มีกรดไลโนเลอิกอีกประมาณ 18-22 % และมีกรดโอเลอิกประมาณ 11-12% (Siriamornpun, 2006) น อ ก จ าก นี้ยังมีผลการวิจัยพบว่า ในน้ำมันงาขี้ม้อนมีทั้งโอเมก้า 3และโอเมก้า6 ซึ่งเป็น กรด ไขมัน ที่จำเป็นต่อร่างกาย (เพิ่มศักดิ์ และคณะ, 2546) โดยปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 3 ในน้ำมันจากเมล็ดงาขี้ม้อนนั้นสูงกว่าน้ำมันปลาประมาณ 2 เท่า (ธัญญา, 2552) และจากการสุ่มตัวอย่างงาขี้ม้อนที่กำลังพัฒนาสายพันธุ์จำนวน4 สายพันธุ์ เพื่อทำการวิเคราะห์ปริมาณน้ำมันพบว่ามีปริมาณน้ำมันรวม 43-44% และเป็นโอเมก้า 3 11-15% ส่วนเมล็ดงาขี้ม้อนสีขาวขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำมันรวม 43.1% เป็นโอเมก้า 3 15.01% เมล็ดงาขี้ม้อนสีน้ำตาลเข้มขนาดเล็กมีปริมาณน้ำมันรวม52.02% เป็นโอเมก้า 3 11.08% เมล็ดงาขี้ม้อนสีเทาอ่อนขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำมันรวมมากที่สุด 55.83%เป็นโอเมก้า 3 12.73% ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแหล่งที่เพาะปลูกหรือสายพันธุ์ที่เพาะปลูก (พรรณผกา, 2557)
ประโยชน์ของโอเมก้า 3 ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างไขมันที่สำคัญในสมอง และจอประสาทตา มีประโยชน์ต่อระบบประสาทช่วยในเรื่องความจำและป้องกันโรคความจำเสื่อมในวัยชรา ป้องกันโรคหัวใจและสมองขาดเลือดได้ โอเมก้า 6 ทำหน้าที่ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ช่วยลดอาการปวดและอาการอักเสบต่าง ๆ ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้เซลล์ผิวหนัง ลดอาการแห้งกร้าน ริ้วรอยต่าง ๆ บนผิวหนัง โอเมก้า 3เมื่อผ่านกระบวนการเผาผลาญอาหาร (metabolism)ใ น ร่างกาย ก็จ ะได้สาร 2 ช นิด คือ EPA(eicosapentaenoic acid) แ ล ะ DHA(docosahexaenoic acid) ซึ่งให้คุณ ประโยชน์ทั้งด้านอาหารและยา และในเมล็ดงาขี้ม้อนพ บสารสำคัญที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ได้แด่ สารกลุ่มโพลีฟีนอลและสารโทโคฟีรอล ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ธิดารักษ์และคณะ (2555)
ได้ทำการศึกษาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธีการศึกษา DPPH radical scavenging activity ในเมล็ดงาขี้ม้อน จำนวน 12 สายพันธุ์ จากผลการวิจัยพบว่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระมีความแตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งในงาขี้ม้อนมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระโดยเฉลี่ย 24.51 ไมโครโมลาร์Trolox/ กรัมไขมัน โดยเมล็ดงาขี้ม้อน พันธุ์เวียงสา 1มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ในเมล็ดพันธุ์ปริมาณที่สูง ค่าเฉลี่ย 36.68 ไมโครโมลาร์ Trolox/กรัมไขมัน ส่วนพันธุ์ของเมล็ดงาขี้ม้อนที่มีค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระน้อยที่สุด คือพันธุ์นาน้อย 5 มีปริมาณ 11.76 ไมโครโมลาร์Trolox/ กรัมไขมัน ซึ่งพันธุ์ที่มีปริมาณวิตามินอีสูงจะมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ดี
เมล็ดงาขี้ม้อน
ที่มา : กัษมาพร ปัญต๊ะบุตร (Kassamaporn Puntaburt)ฝ่ายกระบวนการผลิตและแปรรูป (Department of Food Processing and Preservation)
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร (Institute of Food Research and Product Development)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University)
สรุป
งาขี้ม้อนเป็นพืชในประเทศไทยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อุดมไปด้วยด้วยวิตามินบีและแร่ธาตุต่างๆ เช่น ฟอสฟอรัสและแคลเซียม โดยมีปริมาณแคลเซียมสูง คืออยู่ในช่วง 410-485 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของเมล็ดเมล็ดงาขี้ม้อน หรือประมาณ45-50% ของปริมาณแคลเซียมที่คนทั่วไปควรได้รับต่อวัน เมล็ดงาขี้ม้อนสามารถนำมาสกัดน้ำมัน โดยน้ำมันงาขี้ม้อนเป็นแหล่งของโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6ที่มีส่วนช่วยบำรุงสมอง โดยปริมาณโอเมก้า 3 มีมากกว่าน้ำมันปลาจากปลาทะเลน้ำลึก ดังนั้นงาขี้ม้อนจึงเป็นแหล่งของแคลเซียมและโอเมก้าจากพืช ที่มีราคาไม่แพงและรับประทานง่าย ซึ่งในท้องตลาดมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากงาขี้ม้อนบ้าง แต่ก็ยังไม่ได้นำ มาใช้เป็นส่วนผสมของอาหารชนิดอื่นแพร่หลายมากนัก การนำงาขี้ม้อนมาใช้ประโยชน์เพื่อการวิจัยพัฒนาต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
ผลิตภัณฑ์จากงาขี้ม่อน ของ บริษัท พิรัตตา
AP Oil
>> ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำมันรำข้าว ผสมน้ำมันเมล็ดงาขี้ม้อน <<
เอพี ออยล์ น้ำมัมรำข้าว ผสมน้ำมันงาขี้ม่อน ( ชนิด แคปซูล )
ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ต้านอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติช่วยป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตา ลดความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระ
รายละเอียดและโปรโมชั่น >>>> https://www.piratta.co.th/th/ap-oil--luteinvitamin-d3-capsules-P0005 <<<<
เอกสารอ้างอิง
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2539. สมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธัญญา ธีรศาสตร์. 2552. น้ำมันงาเจียง เส้นทางใหม่สู่การแก้ไขปัญหาสุขภาพ. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
http://opac.tistr.or.th. [9 พฤษภาคม 2562].
ธิดารักษ์ แสงอรุณ ดำเนิน กาละดี และกนกวรรณ ศรีงาม. 2555. ปริมาณของวิตามินอีในข้าวเหนียวก่ำและ
งาขี้ม้อน. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรรณผกา รัตนโกศล. 2557. งาม้อนพืชวิเศษสุดให้โอเมก้า 3 ทดแทนปลาทะเลน้ำลึก.
http://it.doa.go.th/pibai/. [9 พฤษภาคม 2562].
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์และนิธิยา รัตนาปนนท์ . ม.ป.ป. กรดปาลมิติก.
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2038/palmitic-acid [29 มิถุนายน
2562].
วิทวัส นิ่มสกุล และนิรมล อุตมอ่าง. 2555. ทัศนคติผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อ
สุขภาพจากงาขี้ม้อน. การค้นคว้าแบบอิสระ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริวรรณ สุทธจิตต์. 2550. ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: The Knowledge
Center สำนักงานส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร. 2558. งาขี้ม้อน.
http://www.agriman.doe.go.th [8 พฤษภาคม 2562].
Allen G. 2006. Perilla frutscens. http://www.hvinet.com/galln/ perilla.html. [8 May 2019].
Kanae Y. 1995. Sesame seed and its lignans produce marked enhancement of Vitamin E
activity in rats fed a low tocopherol diets. Lipids. 30(11): 1019-28
Siriamornpun S, Li D, Yang L, Suttajit S and Suttajit M. 2006. Variation of lipid and fatty
acid compositions in Thai perilla seeds grown at difference location.
Songklanakharin J. Sci Technol. 28(1): 17-21
Wikimedia. 2019. Perilla.
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Perilla_frutescens%27_flower.jpg.
[9 May 2019].
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor